OSI Model


Network : OSI Model


OSI Model

       OSI Model คือ องค์ ประกอบ ที่สามารถพัฒนาขึ้นมาเพียงชั้นเดียวจากจำนวน 7 ชั้นแล้วนำไปใช้งานร่วมกับชั้นอื่นที่มีการพัฒนาไว้แล้วโดยหลักการแต่ละชั้น จะติดต่อกับชั้นในระดับเดียวกันที่อยู่บนเครื่องอีกเครื่องหนึ่ง





Open Systems Interconnection (OSI)


       จัดตั้งและกำหนดโดย องค์การกำหนดมาตรฐานสากล หรือ ISO ( International Standards Organization ) เริ่มนำมาใช้งานราว ๆ กลางปี ค.ศ. 1970 และ ใช้อ้างอิงมาจนถึงปัจจุบัน จุดมุ่งหมายเพื่อเปิดช่องทางให้ข้อมูลที่เก็บ อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์หนึ่ง ๆ รับส่งไปยังคอมพิวเตอร์ที่เป็นระบบเดียวกันหรือต่างระบบได้โดยอิสระ ไม่ขึ้นกับผู้ผลิตสร้างการทำงานที่เป็นระบบเปิด (Open System)


แนวคิดของการกำหนดมาตรฐานเป็นแบบชั้นสื่อสาร (layers) คือ

1.ชั้นสื่อสารแต่ละชั้นถูกกำหนดขึ้นมาตามบทบาที่แตกต่างกัน
2.แต่ละชั้นสื่อสารจะต้องทำหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายอย่างดียิ่ง
3.แต่ละฟังก์ชั่นในชั้นสื่อสารใดๆจะต้องกำหนดขึ้นมาโดยใช้แนวความคิดในระดับสากลเป็นวัตถุประสงค์หลัก

ในทางปฏิบัติ เราจะแบ่ง Layer ทั้ง 7 ออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ


1.Upper Layer


     1.Application – Transport ได้แก่ 4 ชั้นด้านบน คือชั้นที่ 7,6,5,4 ทำหน้าที่เชื่อมต่อรับส่งข้อมูลระหว่างผู้ใช้กับซอฟต์แวร์โปรแกรมประยุกต์ ให้รับส่งข้อมูลกับฮารด์แวร์ที่อยู่ชั้นล่างได้ถูกต้อง


2.Lower Laye

      2.Network – Physical ได้แก่ 3 ชั้นด้านล่าง คือชั้นที่ 3,2,1 ทำหน้าที่เกี่ยวกับการรับส่งข้อมูลโดยผ่านทางสายส่ง และทำหน้าที่ควบคุมการรับส่งข้อมูล

7Layers of OSI




Physical layer   (layer 1)



     ชั้นกายภาพเป็นชั้นระดับล่างสุดที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับอุปกรณ์สื่อสารต่างๆ ทำหน้าที่ในการกำหนดวิธีควบคุมการรับและการส่งข้อมูลระหว่างเครื่อง คอมพิวเตอร์ในระดับบิต ได้แก่ การส่งบิต 0 จะแทนด้วยกระแสไฟฟ้ากี่โวลต์ และบิต 1 จะต้องใช้กี่โวลต์,แต่ละบิตจะใช้ระยะเวลาในการส่งนานเท่าใด การส่งเป็นแบบทางเดียวหรือสองทางจะเริ่มติดต่ออย่างไรการติดต่อจะสิ้นสุดอย่างไรและสายเคเบิลที่ใช้มีกี่เส้น แต่ละเส้นใช้เพื่ออะไร เป็นต้น


Data Link layer   (layer 2)


      ชั้นสื่อสารเชื่อมต่อข้อมูลหน้าที่หลักของชั้นเชื่อมต่อข้อมูลคือ ทำการรวบรวมข้อมูลจากชั้นกายภาพตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล โดยปกติผู้ส่งข้อมูลจะแบ่งข้อมูลที่มีความยาวมากออกเป็นกลุ่มข้อมูลย่อยๆแต่ ละส่วนย่อยเรียกว่า ดาต้าเฟรม (data frame) ชุดของดาต้าเฟรมสำหรับข้อมูลที่ต้องการส่งไปให้ผู้รับก็จะถูกส่งไปทีละเฟรม ตั้งแต่เฟรมแรกไปจนครบทุกเฟรม ไปถึงผู้ส่งเพื่อเป็นการบอกให้ทราบว่าได้รับข้อมูลครบแล้ว กระบวนการรับ-ส่งข้อมูลนี้ก็จะเสร็จสมบูรณ์

Network   layer   (layer 3)

        มีหน้าที่รับผิดชอบใน การควบคุมการติดต่อรับ-ส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์(เรียกว่าโหนด) ต่างๆ ในระบบเครือข่ายให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการกำหนดหาเส้นทางเดินของข้อมูลจากโหนดผู้ส่งไปตามโหน ดต่างๆ จนถึงโหนดผู้รับข้อมูลในที่สุดโฮสต์บางกลุ่มจะกำหนดเส้นทางเดินข้อมูลโดย ศึกษาระบบเครือข่ายแล้วสร้างตารางเส้นทางเดินข้อมูลแบบถาวร

Transport   layer   (layer 4)


        โปรแกรมในชั้นนำส่งข้อมูลมีหน้าที่หลักในการรับข้อมูลจากชั้นควบคุม หน้าต่างสื่อสาร(session layer)ซึ่งอาจต้องแบ่งข้อมูลออกเป็นแพ็คเกจ ขนาดย่อม(ในกรณีข้อมูลมีปริมาณมากๆ) หลายๆแพ็คเกจ แล้วจึงส่งข้อมูลทั้งชุดต่อไปให้โปรแกรมในชั้นควบคุมเครือข่าย โปรแกรมในชั้นนี้เป็นผู้กำหนดประเภทของการให้บริการต่างๆ รวมไปถึงการอำนวยความสะดวกในการใช้ระบบเครือข่ายซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ประเภท
  1.   เป็นการให้บริการแบบจุด-ต่อ-จุดโดยเน้นการรับประกันความถูกต้องของข้อมูลเป็นสำคัญ
  2.   เน้นการให้บริการข้อมูล ข้อมูลในระดับแพ็คเกจซึ่งแม้ว่าจะไม่รับประกันการสูญหายของข้อมูลแต่ก็ให้ความคล่องตัวสูงกว่าแบบแรก
  3.   เป็นการส่งข้อมูลแบบกระจายข่าวเพื่อประโยชน์ในการส่งข้อมูลชุดเดียวกันไปยังผู้ใช้หลายจุดพร้อมกัน

Session  layer  (layer 5)


      เป็นผู้กำหนดวิธีการควบคุมการเชื่อมต่อระหว่างผู้รับ-ส่งข้อมูลตั้งแต่ เริ่มต้นการสื่อสารไปจนยุติการสื่อสาร เช่น การติดต่อขอใช้โฮสต์จากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ไกลออกไป (remote login) หน้าที่สำคัญอย่างหนึ่งคือบริหารการแลกเปลี่ยนข่าวสาร อันได้แก่การกำหนดให้การแลกเปลี่ยนข่าวสารเป็นไปแบบสองทางในเวลาเดียวกัน

Presentation  layer  (layer6)


     โปรแกรมที่ทำงานในระดับชั้นควบคุมต้นๆที่กล่าวมานั้น จะให้ความสนใจในประสิทธิภาพของการรับ-ส่งข้อมูลและมองเห็นว่าข้อมูลคือกระแส บิต หรือกระแสไบต์ เท่านั้น  แต่โปรแกรมในชั้นนี้จะมองข้อมูลว่าเป็นสิ่งที่มีรูปแบบ(syntax) และความหมาย(semantics)มากกว่ากระแสของบิตหรือไบต์

Application  layer  (layer 7)


บทบาทที่สำคัญคือ
     1.การเป็นตัวกลางหรือส่วนติดต่อระหว่างโปรแกรมประยุกต์กับโปรแกรมใน 6 ชั้นที่เหลือ    
      2.การกำหนดมาตรฐานของจอ
       การกำหนดมาตรฐานของจอนั้นไม่ได้เป็นการกำหนดวิธีสร้างจอเทอร์มินัลให้ เหมือนกัน ทั้งนี้เพื่อให้ทำให้จอเทอร์มินัลทุกชนิดในโลกมีความเข้าใจตรงกัน 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น